บทบาทของนักดนตรี

บทบาทของดนตรีที่มีต่อสังคม

ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆ กับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆ มนุษย์เรายังอาศัยอยู่ในป่าดง ในถ้ำ แม้ในโพรงไม้ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ เช่นรู้จักการปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่า ปาก เป่าเขา เป็นต้น พร้อมกันนั้นก็มีการเปล่งเสียงร้องออกมาตามเรื่อง การร้องรำทำเพลงของมนุษย์ ในยุคนั้นก็ทำไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า เพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ ให้แก่ตน หรือเพื่อเป็นการบูชา แสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย
โลกได้ผ่านมาหลายยุคหลายสมัย ดนตรีก็ได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญ และความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เครื่องดนตรีในสมัยเริ่มแรกที่เคยใช้ก็ได้วิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ กลายเป็นเครื่องดนตรี ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เพลงที่เคยร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนาและ เพลงร้องโดยทั่วๆ ไปเป็นต้น

ร่างกายของมนุษย์เราเจริญเติบโตได้ด้วยอาหาร นอกจากคนเราจะรับประทานอาหารทางปากแล้ว ยังต้องการอาหารทางหู ทางตา ทางใจ และทางสมองอีก ศิลปะการดนตรีและการละครเป็นอาหารของหูและตา วรรณคดีและศาสนาเป็นอาหารทางใจและสมอง อาหารเป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างการ ศิลปะของการดนตรีและ ละครก็เป็นประโยชน์ก่อให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจ 

บทบาทหน้าที่ของดนตรี
ดนตรีเปรียบเสมือนเป็นพื้นฐานของสังคม ซึ่งมันสามารถอธิบายถึงปรากฏการณ์ทาง
สังคมการเมืองและวัฒนธรรมได้ บางครั้งสังคมอาจไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ลงไปสู่ดนตรีโดยตรงทั้งหมด แต่ดนตรีมักถูกใส่ลงไปในสังคมเพื่อสร้างพลังบางอย่างให้กับกลุ่มชนต่าง ๆ เพื่อสร้างความสำนึกให้เกิดขึ้น กล่าวได้ว่าสังคมนั้นมีส่วนที่ทำให้เราเข้าใจดนตรีมากขึ้น ทำให้เรารำลึกถึงมุมมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่น มุมมองของความสำเร็จ มุมมองของข้อผิดพลาด หรือมุมมองของข้อผิดพลาดที่ลึกซึ้ง และอื่น ๆ เป็นต้น
ดนตรีหรือบทเพลงคือการบันทึกภาพทางประวัติศาสตร์ที่สามารถสะท้อนเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆทางสังคม หรือสะท้อนแนวคิดอุดมการณ์ในแต่ละยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง เช่น การนำเอาดนตรีและบทเพลงมาใช้เพื่อเป็นสื่ออำนาจของกลุ่มชนในการต่อสู้เพื่อแย่งชิงพื้นที่ทางสังคมวัฒนธรรม ในที่นี้หมายถึงดนตรีที่นำไปใช้กับการเมือง ซึ่งเป็นมุมมองทางดนตรีที่ทำหน้าที่ต่อสังคมและการเมือง ทั้งนี้สิ่งที่เกิดขึ้นถ้านำมาวิเคราะห์ลงไปอย่างลึกซึ้งก็จะพบถึงวิธีคิด สาระ ตลอดจนภาพสะท้อนต่าง ๆ ในสังคมที่มีการเชื่อมโยงมิติสัมพันธ์หลาย ๆ ด้าน บางครั้งทำให้เราสามารถนำกลับมาทบทวนและกำหนดแนวคิดเชิงปรัชญาทางดนตรีใหม่เพื่อนำมาใช้กับการเมืองได้

ดนตรีกับสื่อทางความคิด
ดนตรีหรือบทเพลงนั้นถือได้ว่าเป็นภาษาแห่งอารมณ์ ซึ่งนักแต่งเพลงได้พยายามกระตุ้นออกมาเป็นเสียงเพลง มีทั้งที่จงใจกระตุ้นและที่เกิดจากประสบการณ์ของตนเองซึ่งเพลงเป็นสื่อกลางในการติดต่อ และการทำความเข้าใจกันระหว่างมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุด เพลงจึงเป็นภาษาหรือเครื่องมือที่สำคัญของมนุษย์ในการสื่อความคิดต่อกัน ซึ่งการสื่อความคิดนี้จะมี ๒ ลักษณะคือ
1) การสื่อความคิดในเรื่องที่เป็นความจริง ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ การสื่อความคิดประเภทนี้ไม่ก่อให้เกิดปัญหาถกเถียงมากนัก เนื่องจากเป็นการอธิบายปรากฏการณ์ที่เป็นจริงด้วยเหตุผลและสามารถพิสูจน์ได้
2) การสื่อความคิดในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณค่าต่างๆ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการยอมรับในคุณค่าเหล่านั้นได้ การสื่อความคิดประเภทนี้ก็คือ การชักจูงให้คล้อยตาม ซึ่งก็หมายถึงเพลงประเภทปลุกใจซึ่งมีใช้กันอยู่ในทุกสังคมมนุษย์นั่นเอง

ดนตรีกับความเคลื่อนไหวทางสังคม
การมองเห็นสถานะความเป็นจริงทางสังคมของดนตรีในเชิงปรัชญา โดยมองถึงการนำไปใช้ให้เกิดผลต่อการกระตุ้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลง การส่งผ่านความคิดทางดนตรีคือแรงกระตุ้นให้เกิดความสนใจ หรือยั่วยุ ซึ่งมันเป็นสิ่งท้าทายที่เหนือความเชื่อ ดนตรีมักเกิดขึ้นเสมอ ๆ ต่อทีท่าของกิจกรรมมนุษย์ หรือบางสิ่งที่มนุษย์กระทำ ดนตรีคือการก่อรูปทางสังคมหรือเป็นการสร้างความทรงจำที่ตราตรึงให้กับสังคม รวมทั้งมันเป็นธรรมชาติและคุณค่าที่มีผลการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การปฏิบัติการของดนตรีไม่ได้อาศัยรูปแบบที่ตายตัว แต่จะใช้แก่นแท้ที่มันอยู่ภายในจิตใจเป็นตัวสร้าง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันถูกสร้างขึ้นโดยสำนึกรวมหมู่ของมนุษย์ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประวัติส่วนตัว

home